วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อัยการเร่งร่างคำฟ้องคดียิ่งลักษณ์ โกงจำนำข้าว เตรียมส่งฟ้องศาลฎีกา



ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

อัยการเผย กำลังร่างคำฟ้องคดียิ่งลักษณ์ โกงจำนำข้าว เตรียมส่งศาลฎีกาการเมือง คาดใช้เวลาไม่นานอ่านเพิ่มเติม

อึ้ง! ไทยเจ๊งจำนำข้าว 1.2 แสน ล. ลิ่วล้อนักการเมืองสวาปาม 8.4 หมื่น ล.


นักวิชาการ "ทีดีอาร์ไอ" ชี้ ไทยขาดทุนจากจำนำข้าวมากถึง 1.2 แสนล้าน เฉพาะขั้นตอนระบายข้าวมีการเสนอซื้อในราคาต่ำ พบอันดับ 1 เกิดจากการค้าข้าวแบบจีทูจี แฉพรรคพวกนักการเมืองอ่านเพิ่มเติม

บิ๊กตู่ เผยคืบหน้าปมทุจริตจำนำข้าว ยันไทยไม่เสียแชมป์ส่งออก




ประยุทธ์ ยันไทยยังไม่เสียแชมป์ส่งออกข้าว พร้อมเผยคืบหน้าปมทุริตจำนำข้าว ลั่นกำลังรวบรวม-ตรวจสอบอ่านเพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี




ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
             นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา  การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ
ลักษณะคำประพันธ์
             ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง  ความคิดเห็นที่มานำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการ สำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นมาก่อน
เรื่องย่อ
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา


บทวิเคราะห์

คุณค่าด้านภาษา
กลวิธีการแต่ง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดที่ชัดเจน    ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย  และมีส่วนประกอบของการเขียนบทความอย่างครบถ้วน คือ ส่วนนำ   เนื้อเรื่อง ส่วนสรุป
คุณค่าด้านสังคม
สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงยกบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 5บท มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนทุกชนชั้น